กฏของเกย์ ลูสแซก

กฏของเกย์   ลูสแซก

กฏของเกย์   ลูสแซก

ปี  พ.ศ. 2351  ( ค.ศ. 1808 ) โจเซฟ  หลุยส์   เกย์   ลูสแซก(  Joseph  –  Louis  Gay  -  Lussac  ) นักเคมีชาวฝรั่งเศส ได้ศึกษาทดลองวัดปริมาตรของแก๊สที่ทำปฏิกิริยาและที่ได้จากปฏิกิริยาจนสามารถสรุปและตั้งเป็น กฎการรวมปริมาตรของแก๊ส  หรือเรียกว่า กฎของ เกย์  ลูสแซก    มีข้อความว่า “ อัตราส่วน ระหว่างปริมาตรของแก๊สที่ทำ ปฏิกิริยาพอดีกัน  และปริมาตรของแก๊ส ที่ได้จากปฏิกิริยาซึ่งวัดที่อุณหภูมิและความดันเดียวกันจะเป็นเลขจำนวนเต็มลงตัวน้อย ๆ 
เช่น
-  การเกิดไอน้ำ ( H2O) เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง H2   2   หน่วยปริมาตรและ
O2    1  หน่วยปริมาตรได้น้ำ  H2O   2   หน่วยปริมาตร
ดังนั้น  อัตราส่วนของ  H2 :  O2  : H2O  =  2 : 1 : 2  เท่ากับเลขจำนวนเต็มลงตัวจำนวนน้อย ๆ

เมื่อเขียนสมการเคมีที่เป็นแก๊ส ดุลจำนวนอะตอมในสมการเรียบร้อยแล้ว  ตัวเลขข้างหน้าจะแสดงถึงอัตราส่วนของปริมาตรของแก๊ส ตามกฎของเกย์  ลูสแซก
 ( และยังแสดงถึงจำนวนโมเลกุลตามกฎของอาโวกาโดร)  ได้ดังนี้
        2 H2 (g)         +                 O2 ( g)                                2 H2O (g)
                                                                
2  หน่วยปริมาตร                   1  หน่วยปริมาตร                  2  หน่วยปริมาตร
                                                                
     2   cm3                                     1   cm3                                      2  cm3

H2   :  O2  :  H2O   =   2  :  1  :  2  ( โดยปริมาตร )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น